ถอดรหัสความแตกต่างระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์, แนวคิดความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม, และแนวคิดริเริ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Summary :
ไม่นานมานี้ ขบวนการเคลื่อนไหวเศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์ (SSE) ได้รับความสนใจและมีน้ำหนักทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น เริ่มจากการประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILC) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่ได้ให้การรับรอง “ข้อมติสำคัญที่เกี่ยวข้องกับงานที่มีคุณค่าและเศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์” ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.2022 และจากการที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) ได้ให้การรับรองมติ A/RES/77/281 หัวข้อ “การส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ในเดือนเมษายน ค.ศ.2023
การที่แนวคิดเศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์ได้รับความสนใจมากขึ้นอาจเปรียบเสมือนสัญญาณแห่งความหวัง อย่างไรก็ตาม นั่นทำให้มีความจำเป็นต้องกลับไปพิจารณาถึงแก่นแท้และความแตกต่างของแนวคิดเศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์กับแนวคิดริเริ่มอื่นๆ จากภาคองค์กรภาคธุรกิจซึ่งปัจจุบันได้สร้างภาพลักษณ์ของตนเองในฐานะ “ผู้แก้ปัญหา” ปัญหาสำคัญที่ผู้คนทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ โดยพบว่ามีแนวคิดความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่ถูกสมาทานโดยองค์กรภาคธุรกิจซึ่งส่งเสริมการดำเนินงานร่วมกับ World Economic Forum ภายใต้สภาผู้นำองค์กร Global Alliance for Social Entrepreneurship และมีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งกล่าวว่าการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ SSE บทความนี้ของ Yvon Poirier ได้ให้การวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับแนวคิดริเริ่มเพื่อการพัฒนาล่าสุดเหล่านี้จากมุมมองของผู้ที่อยู่ในขบวนการ SSE และแปลเป็นภาษาไทยโดย รชาดา บุรณศิริ